วันอังคารที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ส่วนที่ห่อหุ้มเซลล์

จัดทำโดย ม.4/2

1.นายทัศไนย            สิงห์ปัญญา   เลขที่ 1
2.นางสาวศศิมา         คนใหญ่         เลขที่ 13      
3.นางสาวอนัญพร     เครือเฆ้          เลขที่ 14
4.นางสาวสุทธิดา      ศิริไกรวรรณ   เลขที่ 17

เสนอ

อาจารย์เวียงชัย   อติรัตนวงษ์

                    โรงเรียนขามแก่นนคร  
อำเภอเมืองขอนแก่น     จังหวัดขอนแก่น 
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเขต 25
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
คำนำ

             เว็บเว็บนี้จัดทำขึ้นเพื่อให้ผู้ที่ต้องการจะศึกษาเรื่องเซลล์ของสิ่งมีชีวิต หัวข้อ ส่วนที่ห่อหุ้มเซลล์นั้นได้เข้ามาศึกษาเนื้อหาเพิ่มเติมเกี่ยวกับเซล์ ว่าส่วนที่ห่อหุ้มเซลลนั้นคืออะไร เซลล์มีรูปแบบไหนบ้าง แบ่งเป็นกี่ประเภท และแต่ละประเภทมีรูปร่างแบบไหน ทางผู้จัดทำหวังว่า เว็บเว็บนี้จะเป็นประโยชน์ให้แก่ผู้อ่านไม่มากก็น้อย หัวข้อเรื่องนี้เป็นส่วนหนังของรายวิชาชีววิทยา ว3124
             หากมีข้อผิดพลาดประการใดทางผู้จัดทำก็ขออภัยมา ณ โอกาสนี้ด้วยคะ ขอขอบคุณคุณครูเวียงชัย อติรัตนวงษ์ ที่ได้มอบหมายให้กลุ่มของดิฉันศึกษาและนำเรื่อที่ศึกษามานำเสนอให้ผู้อื่นได้ศึกษาต่อ



จุดประสงค์

                    - อยากให้ผู้เข้ามาศึกษาได้อ่านและรับความรู้เกี่ยวกับเรื่องนี้
             - อยากให้ผู้ศึกษาได้เข้าใจในเนื้อหาของเรื่องมากขึ้น
             - ผู้อ่านสามารถเข้าใจได้ด้วยตนเอง
             - ถือว่าเป็นแหล่งความรู้นอกห้องเรียนและสถานที่

คำถามก่อนเรียน
1. Cell membrane ในปัจจุบันมีโครงสร้างเป็นอย่างไรและมีชื่อเรียกว่าอย่างไร
Phosphoglypid bilayer
Phospholipid bilayer
Fluid Mosaic Model 
Fluid Smooth Model

2. Organelle ชนิดใดที่นักวิทยาศาสตร์สันนิษฐานว่าเดิมเป็น Prokaryotic cell
RER
Nucleolus
Lysosome
Mitochondria
3. Organelle ใดบ้างที่ไม่มีเยื่อหุ้ม 2 ชั้น
Nucleus
Smooth Endoplasmic Reticulum 
Chloroplast
Mitochondria
4. ข้อใดต่อไปนี้ ไม่ใช่ลักษณะของ Ribosome
ทำหน้าที่ สังเคราะห์โปรตีน
พบใน eukaryotic cell เท่านั้น 
ประกอบด้วยหน่วยย่อย 2 หน่วย และไม่มี membrane หุ้ม
อยู่บนร่างแห endoplasm
5. เหตุใดในการส่องดูเซลล์ของสิ่งมีชีวิต เราจึงต้องแช่ไว้ในสารละลายน้ำเกลือ
ให้เซลล์เต่ง ทำให้มองเห็นภายในได้ชัดขึ้น
ให้เซลล์เต่ง ทำให้เห็นภายนอกได้ชัดเจน
ให้เซลล์เหี่ยว ทำให้มองเห็น organelle ได้ชัดเจน 
ให้เซลล์เหี่ยว ทำให้มองเห็น cytoplasm ได้ชัดเจน
6. เซลล์ใดที่พบ RER และ SER มากตามลำดับ
ตับอ่อน และ กล้ามเนื่อ
ตับอ่อน และ ต่อมหมวกไต 
ผิวหนัง และ รังไข่
หัวใจ และ ตับ
7. Cytoskeleton ชนิดใดมีขนาดเล็กที่สุด
Microtubule 
Intermediate Microtubule
Intermediate Filament
Microfilament
8. Nucleolus มีหน้าที่ทำอะไร
ขดตัวเป็นแท่งโครโมโซม
สังเคราะห์โปรตีน
ควบคุมการทำงานของเซลล์
ควบคุมการถ่ายทอดทางพันธุกรรม
9. ข้อใดต่อไปนี้ผิด
ribosome มีขนาด2ขนาดคือขนาด 70s และ 80s
mitochondria สามารถเพิ่มจำนวนเองได้
chlorophyll อยู่ตรงบริเวณที่เรียกว่า stoma ใน chloroplast 
Golgi body มีลักษณะเป็นถุงแบนๆซ้อนทับกัน 5-7 ชั้น
10. สมบัติใดต่อไปนี้เป็นสมบัติของ Prokaryotic cell
มีไมโตคอนเดรียเป็นแหล่งพลังงานภายในเซลล์
 มี nuclear membrane มีรูอยู่ทั่วเพื่อใช้สื่อสารระหว่าง nucleus และ cytosol
มี ribosome ขนาด 70s เท่านั้น
มีผนังเซลล์ที่เป็น cellulose

เฉลยคำตอบ
1. Fluid Mosaic Model 
2. Mitochondria
3. Smooth Endoplasmic Reticulum 
4. พบใน eukaryotic cell เท่านั้น 
5. ให้เซลล์เหี่ยว ทำให้มองเห็น organelle ได้ชัดเจน 
6. ตับอ่อน และ ต่อมหมวกไต 
7. Microfilament
8. สังเคราะห์โปรตีน
9. chlorophyll อยู่ตรงบริเวณที่เรียกว่า stoma ใน chloroplast 

10. มี ribosome ขนาด 70s เท่านั้น

ส่วนที่ห่อหุ้มเซลล์ (cell membrane)

http://www.thaigoodview.com/library/contest2551/science04/45/2/cell/image/membrane.gif
เยื่อหุ้มเซลล์(cell membrane , plasma membrane , plasmalemma ) เป็นเยื่อบาง ๆ ล้อมรอบไซโทพลาซึม พบในเซลล์ทุกชนิด มีความหนาประมาณ 8.5  - 10 นาโนเมตร กั้นสารที่อยู่ภายในกับภายนอกเซลล์ 
ทำหน้าที่ รักษาสมดุลของสารภายในเซลล์โดยการควบคุมการผ่านเข้าออกของสารระหว่าง
เซลล์กับสิ่งแวดล้อมภายนอก
โครงสร้างของเยื่อหุ้มเซลล์และเยื่อหุ้มออร์แกเนลล์ประกอบด้วยฟอสโฟลิพิดเรียงตัวเป็น 2  ชั้น (lipid bilayer) โดยหันปลายข้างที่มีขั้ว ( ชอบน้ำ ) ออกด้านนอก  หันปลายข้างที่ไม่มีขั้ว ( ไม่ชอบน้ำ ) เข้าด้านใน มีโปรตีน คอเลสเทอรอล ไกลโคลิพิด ไกลโคโปรตีน แทรกอยู่
การเรียงตัวแบบนี้เรียกว่า ฟลูอิดโมเซอิกโมเดล( Fluid mosaic model)                    
เยื่อหุ้มเซลล์มีสมบัติเป็นเยื่อเลือกผ่าน (semipermeable membrane) เนื่องจากเยื่อบาง ๆ ของเยื่อหุ้มเซลล์และเยื่อหุ้มออร์แกเนลล์ มีลักษณะคล้ายคลึงกันจึงสามารถหลุดออกจากกัน และ เชื่อมต่อกันได้ เช่น การเกิดเวสิเคิลของไลโซโซม  การสร้างแวคิวโอล   ก่อให้เกิดการลำเลียงสารขนาดใหญ่เข้าและออกจากเซลล์ รวมทั้งการย่อยอาหารและสิ่งแปลกปลอมในเซลล์  

cell coat

  สารเคลือบเซลล์ (cell coat or extracellular component) ชั้นนอกสุดของเซลล์ คือ สารเคลือบเซลล์  สารเคลือบเซลล์มีความสำคัญมากกับเซลล์ โดยปกติเซลล์จะมีเยื่อหุ้มเซลล์อยู่รอบๆ แต่เกือบทุกเซลล์ จะมีสารเคลือบเซลล์อยู่รอบๆเยื่อหุ้มเซลล์อีกทีหนึ่ง สารเคลือบเซลล์สร้างมาจาก organelle ใน cytoplasm สร้างแล้วส่งออกมาห่อหุ้ม cell ไว้ในเซลล์พืช คือ ผนังเซลล์ 



   

ในเซลล์สัตว์ คือ glycocalyx หรือ extra cellular matrix


                       
ผนังเซลล์ (cell wall) เป็นส่วนนอกสุดของเซลล์พืช สาหร่าย โพรโทซัว แบคทีเรีย เห็ดรา (ไม่พบในเซลล์สัตว์ )
ผนังเซลล์มีหน้าที่เพิ่มความแข็งแรงให้แก่เซลล์ ส่วนประกอบที่พบคือ เส้นใยเซลลูโลส ซึ่งเรียงตัวแบบไขว้กัน เป็นส่วนของเซลล์ที่ไม่มีชีวิต
  เมื่อเซลล์มีอายุมากขึ้นอาจมีสารอื่นมาสะสมบนเซลลูโลส เช่น เฮมิเซลลูโลส  เพกทิน  ซูเบอริน คิวทิน ลิกนิน
ผนังเซลล์มักยอมให้สารต่าง ๆ ผ่านเข้าออกสะดวก  มีช่องเล็ก ๆ ติดต่อระหว่างเซลล์  เรียกว่า พลาสโมเดสมาตา (plasmodesmata)

             
ผนังเซลล์พืช ประกอบด้วยชั้นต่าง ๆ 3 ชั้น คือ
    1. ผนังเชื่อมยึดระหว่างเซลล์ เกิดขึ้นเมื่อเซลล์พืชแบ่งตัวและเป็นชั้นเชื่อมระหว่างเซลล์ ให้อยู่ติดกัน โดยมีสารพวกแคลเซียมเพกเทต แมกนีเซียมเพกเทต ลิกนินสะสมอยู่บ้าง
    2. ผนังเซลล์ปฐมภูมิ เกิดเมื่อเซลล์เริ่มเจริญเติบโต ประกอบด้วยสารพวกเซลลูโลสเป็นส่วนใหญ่ เซลล์เนื้อเยื่อเจริญ เช่น แคมเบียมจะมีผนังเซลล์แบบปฐมภูมิเท่านั้น
    3. ผนังเซลล์ทุติยภูมิ เกิดเมื่อเซลล์หยุดขยายขนาด โดยมีสารพวก เซลลูโลส ซูเบอริน ลิกนิน และเพกทินมาเกาะ เช่น เซลล์ไฟเบอร์ เทรคีด  เวสเซล

คำถามหลังเรียน

1. เซลล์ใดที่พบ RER และ SER มากตามลำดับ
ตับอ่อน และ กล้ามเนื่อ
ตับอ่อน และ ต่อมหมวกไต 
ผิวหนัง และ รังไข่
หัวใจ และ ตับ
2. Cytoskeleton ชนิดใดมีขนาดเล็กที่สุด
Microtubule 
Intermediate Microtubule
Intermediate Filament
Microfilament
3. ข้อใดต่อไปนี้ผิด
ribosome มีขนาด2ขนาดคือขนาด 70s และ 80s
mitochondria สามารถเพิ่มจำนวนเองได้
chlorophyll อยู่ตรงบริเวณที่เรียกว่า stoma ใน chloroplast 
Golgi body มีลักษณะเป็นถุงแบนๆซ้อนทับกัน 5-7 ชั้น

4. Nucleolus มีหน้าที่ทำอะไร
ขดตัวเป็นแท่งโครโมโซม
สังเคราะห์โปรตีน
ควบคุมการทำงานของเซลล์
ควบคุมการถ่ายทอดทางพันธุกรรม
5. สมบัติใดต่อไปนี้เป็นสมบัติของ Prokaryotic cell
มีไมโตคอนเดรียเป็นแหล่งพลังงานภายในเซลล์
 มี nuclear membrane มีรูอยู่ทั่วเพื่อใช้สื่อสารระหว่าง nucleus และ cytosol
มี ribosome ขนาด 70s เท่านั้น
มีผนังเซลล์ที่เป็น cellulose

     6. Cell membrane ในปัจจุบันมีโครงสร้างเป็นอย่างไรและมีชื่อเรียกว่าอย่างไร
      Phosphoglypid bilayer
      Phospholipid bilayer
      Fluid Mosaic Model 
      Fluid Smooth Model

     7. Organelle ชนิดใดที่นักวิทยาศาสตร์สันนิษฐานว่าเดิมเป็น Prokaryotic cell

     RER
     Nucleolus
     Lysosome
     Mitochondria

     8. Organelle ใดบ้างที่ไม่มีเยื่อหุ้ม 2 ชั้น

     Nucleus
     Smooth Endoplasmic Reticulum 
     Chloroplast
     Mitochondria
     9. เหตุใดในการส่องดูเซลล์ของสิ่งมีชีวิต เราจึงต้องแช่ไว้ในสารละลายน้ำเกลือ
     ให้เซลล์เต่ง ทำให้มองเห็นภายในได้ชัดขึ้น
     ให้เซลล์เต่ง ทำให้เห็นภายนอกได้ชัดเจน
     ให้เซลล์เหี่ยว ทำให้มองเห็น organelle ได้ชัดเจน 
     ให้เซลล์เหี่ยว ทำให้มองเห็น cytoplasm ได้ชัดเจน

     10. ข้อใดต่อไปนี้ ไม่ใช่ลักษณะของ Ribosome

     ทำหน้าที่ สังเคราะห์โปรตีน  
     พบใน eukaryotic cell เท่านั้น 
     ประกอบด้วยหน่วยย่อย 2 หน่วย และไม่มี membrane หุ้ม 
     อยู่บนร่างแห endoplasm


เฉลยคำตอบ

1. ตับอ่อน และ ต่อมหมวกไต 
2. Microfilament
3. chlorophyll อยู่ตรงบริเวณที่เรียกว่า stoma ใน chloroplast 
4. สังเคราะห์โปรตีน
5. มี ribosome ขนาด 70s เท่านั้น
6. Fluid Mosaic Model 
7. Mitochondria
8. พบใน eukaryotic cell เท่านั้น 
9. Smooth Endoplasmic Reticulum 
10. ให้เซลล์เหี่ยว ทำให้มองเห็น organelle ได้ชัดเจน