วันอังคารที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ส่วนที่ห่อหุ้มเซลล์ (cell membrane)

http://www.thaigoodview.com/library/contest2551/science04/45/2/cell/image/membrane.gif
เยื่อหุ้มเซลล์(cell membrane , plasma membrane , plasmalemma ) เป็นเยื่อบาง ๆ ล้อมรอบไซโทพลาซึม พบในเซลล์ทุกชนิด มีความหนาประมาณ 8.5  - 10 นาโนเมตร กั้นสารที่อยู่ภายในกับภายนอกเซลล์ 
ทำหน้าที่ รักษาสมดุลของสารภายในเซลล์โดยการควบคุมการผ่านเข้าออกของสารระหว่าง
เซลล์กับสิ่งแวดล้อมภายนอก
โครงสร้างของเยื่อหุ้มเซลล์และเยื่อหุ้มออร์แกเนลล์ประกอบด้วยฟอสโฟลิพิดเรียงตัวเป็น 2  ชั้น (lipid bilayer) โดยหันปลายข้างที่มีขั้ว ( ชอบน้ำ ) ออกด้านนอก  หันปลายข้างที่ไม่มีขั้ว ( ไม่ชอบน้ำ ) เข้าด้านใน มีโปรตีน คอเลสเทอรอล ไกลโคลิพิด ไกลโคโปรตีน แทรกอยู่
การเรียงตัวแบบนี้เรียกว่า ฟลูอิดโมเซอิกโมเดล( Fluid mosaic model)                    
เยื่อหุ้มเซลล์มีสมบัติเป็นเยื่อเลือกผ่าน (semipermeable membrane) เนื่องจากเยื่อบาง ๆ ของเยื่อหุ้มเซลล์และเยื่อหุ้มออร์แกเนลล์ มีลักษณะคล้ายคลึงกันจึงสามารถหลุดออกจากกัน และ เชื่อมต่อกันได้ เช่น การเกิดเวสิเคิลของไลโซโซม  การสร้างแวคิวโอล   ก่อให้เกิดการลำเลียงสารขนาดใหญ่เข้าและออกจากเซลล์ รวมทั้งการย่อยอาหารและสิ่งแปลกปลอมในเซลล์  

cell coat

  สารเคลือบเซลล์ (cell coat or extracellular component) ชั้นนอกสุดของเซลล์ คือ สารเคลือบเซลล์  สารเคลือบเซลล์มีความสำคัญมากกับเซลล์ โดยปกติเซลล์จะมีเยื่อหุ้มเซลล์อยู่รอบๆ แต่เกือบทุกเซลล์ จะมีสารเคลือบเซลล์อยู่รอบๆเยื่อหุ้มเซลล์อีกทีหนึ่ง สารเคลือบเซลล์สร้างมาจาก organelle ใน cytoplasm สร้างแล้วส่งออกมาห่อหุ้ม cell ไว้ในเซลล์พืช คือ ผนังเซลล์ 



   

ในเซลล์สัตว์ คือ glycocalyx หรือ extra cellular matrix


                       
ผนังเซลล์ (cell wall) เป็นส่วนนอกสุดของเซลล์พืช สาหร่าย โพรโทซัว แบคทีเรีย เห็ดรา (ไม่พบในเซลล์สัตว์ )
ผนังเซลล์มีหน้าที่เพิ่มความแข็งแรงให้แก่เซลล์ ส่วนประกอบที่พบคือ เส้นใยเซลลูโลส ซึ่งเรียงตัวแบบไขว้กัน เป็นส่วนของเซลล์ที่ไม่มีชีวิต
  เมื่อเซลล์มีอายุมากขึ้นอาจมีสารอื่นมาสะสมบนเซลลูโลส เช่น เฮมิเซลลูโลส  เพกทิน  ซูเบอริน คิวทิน ลิกนิน
ผนังเซลล์มักยอมให้สารต่าง ๆ ผ่านเข้าออกสะดวก  มีช่องเล็ก ๆ ติดต่อระหว่างเซลล์  เรียกว่า พลาสโมเดสมาตา (plasmodesmata)

             
ผนังเซลล์พืช ประกอบด้วยชั้นต่าง ๆ 3 ชั้น คือ
    1. ผนังเชื่อมยึดระหว่างเซลล์ เกิดขึ้นเมื่อเซลล์พืชแบ่งตัวและเป็นชั้นเชื่อมระหว่างเซลล์ ให้อยู่ติดกัน โดยมีสารพวกแคลเซียมเพกเทต แมกนีเซียมเพกเทต ลิกนินสะสมอยู่บ้าง
    2. ผนังเซลล์ปฐมภูมิ เกิดเมื่อเซลล์เริ่มเจริญเติบโต ประกอบด้วยสารพวกเซลลูโลสเป็นส่วนใหญ่ เซลล์เนื้อเยื่อเจริญ เช่น แคมเบียมจะมีผนังเซลล์แบบปฐมภูมิเท่านั้น
    3. ผนังเซลล์ทุติยภูมิ เกิดเมื่อเซลล์หยุดขยายขนาด โดยมีสารพวก เซลลูโลส ซูเบอริน ลิกนิน และเพกทินมาเกาะ เช่น เซลล์ไฟเบอร์ เทรคีด  เวสเซล

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น